สุขภาพดี บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
![]()
Custom Search
หลักกินยาให้ปลอดภัย |
ในปัจจุบัน พบประเด็นการใช้ยาที่ควรพึงระวังว่า คนไทยกินยาพาราเซตา
มอลเกินขนาด รวมถึงกินยาผิดประเภทการรักษา และกินยาปฏิชีวนะเกิน
ความจำเป็น
ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยาคณะแพทย์
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง การกินยาเบื้องต้นไว้ว่า ยา
แต่ละชนิดกินเพื่อบรรเทาอาการ จึงควรรู้ปริมาณการกินที่เหมาะสม และควร
กินให้ตรงกับโรคที่ต้องการจะรักษา จึงจะปลอดภัยและเป็นประโยชน์ ได้แก่
การกินยาแก้ปวด-ลดไข้ อย่างถูกวิธี
การกินพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดและลดไข้เบื้องต้นนั้นถูกต้อง
แล้ว แต่ปัญหาการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของประชาชนก็คือ การใช้ยาไม่ถูก
ขนาด ผศ.นพ.พิสนธิ์ให้ความรู้ พร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า การกินพาราเซ
ตามอลแต่ละครั้ง ไม่ควรได้รับเกิน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หากหนัก 50 กิโลกรัม ก็ไม่ควรได้รับยาเกิน 750 มิลลิกรัม พาราเซตา
มอล 1 เม็ด มีปริมาณยา 500 มิลลิกรัม หลายคนเกรงว่ากิน 1 เม็ดจะไม่
หายปวด ก็เลยเลือกกิน 2 เม็ด นั่นเท่ากับว่า เขาจะได้รับยา 1,000 มิลลิ
กรัม ซึ่งผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ค่อนข้างตัวเล็ก หากกินพาราฯ 2 เม็ด ก็ย่อม
เป็นปริมาณที่เกินขนาด
ดังนั้น คนที่กินพาราเซตามอล 2 เม็ดได้อย่างปลอดภัย ไม่มีผลทำร้ายตับ จะต้องมีน้ำหนัก 67 กิโลกรัมขึ้นไป และต้องรู้ด้วยว่า พาราเซตามอล กิน
เกิน 8 เม็ดต่อวันไม่ได้สำหรับคนทั่วไปที่ต้องกินต่อเนื่องเพื่อลดไข้ หรือ
บรรเทาอาการปวด ควรเป็น 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง
และการกิน พาราเซตามอลเกิน เป็นพิษต่อตับ การกินเยอะเกินไปติดต่อ
กันหลายวันอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ตับอักเสบ มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อา
เจียน ตาเหลือง ตัวเหลือง เมื่อเซลล์ตับถูกทำลายมากๆก็อาจเป็นเหตุให้เสีย
ชีวิตได้
หวัด-ภูมิแพ้ แยกให้ออก
ผศ.นพ.พิสนธิ์ อธิบายว่าผู้ป่วยจะต้องแยกให้ออกระหว่าง การเป็นภูมิแพ้และ
การเป็นหวัด เนื่องจากภูมิแพ้ เกิดจากภูมิต้านทานของมนุษย์ที่ไวต่อสิ่งที่มา
กระตุ้น ทำให้จาม หรือมีน้ำมูก ซึ่งการเป็นโรคภูมิแพ้นี้ ไม่เกี่ยวข้องกับ เชื้อ
โรค ขณะที่หวัด เกิดจากเชื้อโรคที่เรียกว่า เชื้อไวรัส เมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้
น้ำมูกไหล
สิ่งที่ทำให้เราแยกไม่ออก ก็ด้วยเหตุที่เราเรียก ยาแก้แพ้ เหล่านี้ว่า ยาลด
น้ำมูก ซึ่งจริงๆ ก็เรียกถูก แต่ถูกเพียงครึ่งเดียวเพราะยาเหล่านี้ใช้ลดน้ำมูก
จากโรคภูมิแพ้เท่านั้น
แต่เมื่อถูกนำมาใช้ลดน้ำมูกจากการเป็นหวัดด้วย น้ำมูกจึงไม่แห้ง อีกประเด็น
ที่สำคัญคือ ยาแก้แพ้มี 2 ประเภท (1)กินแล้วค่อนข้างง่วง (2)กินแล้วไม่
ค่อยง่วง ซึ่งคนส่วนมาก จะไปหาซื้อยาชนิดไม่ง่วงมากินเป็นหลัก โดยไม่รู้ว่า
ยาแก้แพ้ที่กินแล้วไม่ง่วงนั้น ไม่ออกฤทธิ์ลดน้ำมูกในคนที่เป็นหวัดเลย ส่วน
ยาที่กินแล้วง่วง ก็ออกฤทธิ์ได้บ้างเท่านั้น
สรุปได้ว่าถ้าจะใช้ยาแก้แพ้ คุณต้องเป็นโรคภูมิแพ้ พร้อมทำความเข้าใจใหม่
ว่า โรคหวัด เป็นโรคที่ไม่มียารักษา แต่เป็นโรคซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่
สามารถหายได้เอง จากภูมิต้านทานของร่างกาย
ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช้พร่ำเพรื่อ
ผศ.นพ.พิสนธิ์ ร่วมให้ความเห็นต่อประเด็นการใช้ยาปฏิชีวนะว่า สถานการณ์
เชื้อโรคดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยคนไทย และทั่ว
โลกต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาโรคนานขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่
ต้องเร่งสร้างความเข้าใจแก่สังคม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่
สมเหตุผลมากขึ้น โดยยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เมื่อกินเข้าไป
ทุกครั้ง ก็จะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา
บางคนเป็นหวัดพร้อมเจ็บคอ จะไปซื้อยาอมมาบรรเทาอาการ ข้อควรรู้ก็
คือยาอมบางชนิดจะผสมยาปฏิชีวนะ ไว้ เมื่อกินเข้าไปทุกครั้ง ก็จะทำให้
เกิดเชื้อดื้อยามากขึ้น ตรงนี้คนที่ไปซื้อยากินเองควรถามเภสัชกรทุกครั้ง
ว่า ยาอมที่จ่ายให้มา มีผสมยาปฏิชีวนะไว้หรือไม่ ถ้ามีก็ไม่ควรซื้อมากิน
นอกจากนี้ สิ่งที่หลายคนมักจะได้คู่กันมา ก็คือยาแก้อักเสบ ชื่อยาที่มักใช้
เรียกแทนยาปฏิชีวนะ ซึ่งแม้จะได้มากินเพิ่มเพื่อบรรเทาอาการก็ไม่มีประ
โยชน์อะไร เนื่องจากหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ขณะที่ยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่า
เชื้อแบคทีเรีย
พึงระลึกว่าปริมาณและประเภทของยาคือสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ หากต้องการกิน
ยาเพื่อบรรเทาอาการ อย่าได้กินเกินขนาด หวังหายไว เพราะอาจได้รับ
อันตรายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ข้อมูลอ้างอิง สสส.
Post 25 Nov.2014
บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ