สุขภาพดี บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
ค้นหาบทความสุขภาพ remahealth.com
Custom Search
อาหารของหญิงวัยทอง |
ปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนในวัย 40 ปีขึ้นไปหรือย่างเข้าสู่วัยทอง คือ
ความไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ตามวัยจึงมักมีปัญหาในด้าน
สุขภาพจิตกันมาก ดังนั้นการปฏิบัติตัวที่ดีของคนในวัยทอง ควรจะเข้าใจ
และยอมรับในการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น และเมื่อมีอาการผิดปกติควร
ปรึกษาแพทย์ รวมทั้งควรออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และสิ่งสำคัญ
อีกสิ่งหนึ่งคือการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอาหารมี
ส่วนสัมพันธ์กับอาการต่างๆ ของหญิงวัยทองเป็นอย่างมาก
อาหารที่สามารถช่วยบรรเทาอาการของสตรีวัยทอง ได้แก่
1. อาหารประเภทถั่วเหลือง ซึ่งมีสารซึ่งออกฤทธิ์คล้าย ฮอร์โมนเอสโทร
เจนชนิดอ่อน สามารถบรรเทาอาการช่องคลอดแห้งและโรคกระดูกพรุนได้
เพราะประกอบด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ธาตุเหล็ก โปแตสเซียม
วิตามินบีรวม ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการ
อาหารของหญิงวัยทอง
2. เมล็ดธัญญาพืชทั้งเปลือก มีสารซึ่งมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโทรเจน
อย่างอ่อนและมีเส้นใยสูง ช่วยควบคุมระดับคลอเลสเตอรอล และเอสโทร
เจนในร่างกายได้
3. กรดไขมัน ได้แก่ ไลโนเลอิคพบในเมล็ดลินิน เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน ส่วนไลโนเลนิคพบในปลาชนิดต่างๆ ผักใบเขียว ถั่วเหลือง
เมล็ดฟักทอง เป็นต้น กรดไขมันเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง ช่องคลอด และเยื่อบุช่องคลอด
สำหรับอาหารที่สตรีวัยทองควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
1. คาเฟอีน พบในชา กาแฟ โคลา และช็อกโกแลต อาจทำให้ เกิด
อาการเหนื่อยล้าและซึมเศร้า
2. น้ำตาล จะไปลดการเก็บกักวิตามินบีรวมและแร่ธาตุที่จำเป็นซึ่งทำให้
เกิดอาการกระวนกระวายและมีการแปรปรวนของอารมณ์
3. แอลกอฮอล์ จะไปกดระบบประสาทส่วนกลางทำให้เกิดอาการกระวน
กระวายและการตึงเครียดของระบบประสาท อาการ ประเภทเนื้อสัตว์และ
ไขมันอิ่มตัว เป็นสาเหตุให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง
4. เครื่องในสัตว์ ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคข้ออักเสบได้
5. เกลือและโซเดียม ทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง และเพิ่ม
โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนเนื่องจากโซเดียมจะไปเพิ่มการ
ขับถ่ายแคลเซียมจากร่างกายได้
การรับประทานอาหารที่ทำให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยลด
อาการของสตรีวัยทองได้เป็นอย่างดี ข้อสำคัญควรออก กำลังกายและ
พักผ่อนควบคู่ไปด้วย เพื่อคุณภาพของชีวิตที่ยืนยาวต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : ภญ.ศศิธร กิจจารวรรณกุล
เภสัชกรประจำศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ กินเพื่อสุขภาพ