บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีดี
![]()
Custom Search
อาหารเช้าสำหรับเด็ก |
อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอาหารเช้า
สำหรับเด็ก คุณเกศกนก สุกแดง นักวิชาการโภชนาการ โรงพยาบาล
ศิริราชแนะนำว่า อาหารเช้าสำหรับเด็ก ควรได้รับสารอาหารในกลุ่ม
ประเภทต่างๆ
![]() |
1.อาหารในกลุ่มข้าวแป้ง ให้สารอาหารที่เรียกว่า “คาร์โบไฮเดรต” เป็นแหล่งพลังงาน คุณแม่ควรเลือกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง หรือขนม
ปังโฮลวีท หรือไม่ก็เป็นอาหารเช้าที่ทำจากธัญพืช เพราะอาหารใน
กลุ่มนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหารช่วยให้ ลูกรักมีพลังงานที่ค่อย
ย่อยและดูดซึม ซึ่งเป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาอย่างช้าๆ ทำให้เด็ก
มีพลังงานอย่างต่อเนื่อง มีผลต่อสมาธิและอารมณ์
2.อาหารในกลุ่มของเนื้อสัตว์ ให้สารอาหารประเภทโปรตีนช่วยให้
ลูกรักมีสมาธิ และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้นคุณแม่ควรเลือก
จำพวก ไข่ ปลา เนื้อหมู และเนื้อไก่
3.นม และผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ นอกจากจะเป็นแหล่งของโปรตีน
ที่ดีแล้ว ยังเป็นแหล่งของแคลเซียม รวมถึงวิตามินต่างๆ จะช่วยบำรุง
ทั้งร่างกายและสมองอีกด้วย
4.โยเกิร์ต ป็นอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหรือมีหน้าที่ช่วยให้จุลินทรีย์
ที่ดีในลำไส้แข็งแรง สามารถป้องกัน และดูแลร่างกายให้แข็งแรง
5.อาหารในกลุ่มของผักสด ผลไม้จะอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ อย่าง วิตามิน แร่ธาตุ โฟเลต และยังเป็นแหล่งรวมวิตามินต่างๆ ซึ่ง
จากผลการวิจัยพบว่า วิตามินซีมีส่วนช่วยเสริมสร้างในเรื่องสมาธิ การ
เรียนและความจำ ซึ่งก็ไม่แพ้ซึ่งก็ไม่แพ้ธาตุเหล็ก ที่มีผลช่วยให้ลูกมี
สมาธิ และช่วยไม่เซื่องซึมหรือง่วงนอนอีกด้วย
นอกจากอาหารเช้าแล้ว คุณเกศกนก สุกแดง กล่าวต่อว่า ปริมาณ
อาหารที่ลูกควรได้รับในแต่ละวัน ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดย
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพตามรายการอาหารต่อไปนี้
+นมสด ดื่มในปริมาณอย่างน้อย 2 แก้ว ( 1 แก้ว = 250 มิลลิลิตร)
+ไข่ 1 ฟอง
+เนื้อสัตว์ (สุก) 3-4 ช้อนโต๊ะ เนื้อปลาที่มีกรดไขมันที่จำเป็น โอเมก้า 3
เนื้อปลาน้ำจืด ได้แก่ ปลาช่อน ปลาทะเลก็ได้แก่ ปลาทู ปลากะพง นอกจากนั้นอาหารทะเลและตับก็เป็นแหล่งอาหารที่ดี หรือจะเลือก
เป็นเนื้อไก่ก็ได้ เป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดี ดังนั้นการรับประทานอาหาร
ให้หลากหลายสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย
+ข้าวสวย 1-2 ถ้วย อาจเลือกเป็นข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีตก็ได้
+ ผักสุก ½ - 1 ถ้วยตวง คุณแม่ควรเลือกผักที่มีหลายสี โดยเฉพาะ
ผักที่มีสีเขียวเข้มเช่นผักโขม บร๊อคโคลี่ ตำลึง ผักที่มีสีเหลือง เช่น ฟักทองผักที่มีสีแดง เช่น มะเขือเทศ (วิตามินซีสูง) ผักที่มีสีส้ม เช่น แครอท
+ผลไม้ ½ - 1 ถ้วยตวง คุณแม่ควรเลือกผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเท่านั้น เช่น ฝรั่ง
+น้ำมันพืช 2 ช้อนชา คุณแม่ควรใช้น้ำมันรำข้าวสลับกับน้ำมันถั่ว
เหลืองด้วยเหตุนี้ คุณแม่ควรหันมาให้ความสำคัญกับอาหารเช้า
อย่าลืมที่จะใส่ใจกับการรับประทานอาหารเช้าเพื่อให้ลูกๆ ได้คุณค่าจาก
สารอาหารเช้าที่เหมาะสม และครบถ้วน ไปพร้อมๆ กับสุขภาพร่างกาย
ที่แข็งแรงอีกด้วย
ข้อมูลจาก รพ.ศิริราช
161112