สุขภาพดี บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
ค้นหาบทความสุขภาพ remahealth.com
Custom Search
การเตรียมตัวก่อนการทำสมาธิ |
การหาเวลาที่เหมาะสม เช่นไม่ใช่เวลาใกล้เที่ยงเป็นต้น จะทำให้หิว
ข้าว หรือทำใกล้เวลาอาหารและไม่ทานอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ง่วง
นอน หรือเวลาที่คนในบ้านยังมีกิจกรรมอยู่ ยังไม่หลับเป็นต้น
การหาสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ใช่ที่อึกทึก นอกจากได้สมาธิในขั้นต้น
และต้องการฝึกการเข้าสมาธิในที่อึกทึก
เสร็จจากธุระภาระกิจต่างๆ และกิจวัตรประจำวันแล้ว เช่นหลังจาก
อาบน้ำแล้ว ขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีนัดหมายกับใคร
อยู่ในอาการที่สบาย คือการเลือกท่านั่งที่สบาย ท่าที่จะทำให้อยู่
นิ่งๆ ได้นานโดยไม่ปวดเมื่อยและเกิดเหน็บชา อาจจะไม่ใช่การนั่งขัด
สมาธิก็ได้ แต่การนั่งขัดสมาธิถ้าทำได้ถูกท่าและชินแล้ว จะเป็นท่าที่
ทำให้นั่งได้นานที่สุด อย่างไรก็ตามไม่ควรอยู่ในท่าเอนหลังหรือนอน
เพราะความง่วงจะเป็นอุปสรรค เมื่อร่างกายได้ขนานกับพื้นโลกจะทำ
ให้ระบบของร่างกายพักการทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ต้องใช้กำลัง
ใจในการทำสมาธิมากกว่าการนั่ง
ไม่ควรนึกถึงผลหรือปรารถนาในลำดับชั้นของการนั่งในแต่ละครั้ง
เช่นว่าจะต้องเห็นโน่นเห็นนี่ให้ได้ในคืนนี้เป็นต้น เพราะจะเป็นการสร้าง
ความกดดันทางใจโดยไม่รู้ตัว และเกิดความกระวนกระวายทำให้ใจไม่
เกิดสมาธิ ใจไม่นิ่ง ต้องทำใจให้ว่างมากที่สุด
ตั้งเป้าหมายในการนั่งแต่ละครั้ง เช่นตั้งใจว่าจะต้องนั่งให้ครบ 15
นาที ก็ต้องทำให้ได้เป็นต้น และพยายามขยายเวลาให้นานออกไป
เมื่อเริ่มฝึกไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้สมาธิได้สงบนิ่งได้นานยิ่งขึ้น
เมื่อได้เริ่มแล้วก็ให้ทำทุกวันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัยติดตัว เพราะว่าการทำสมาธิต้องอาศัยความเพียรในการฝึกฝน เพื่อให้เกิด
ความเคยชินและชำนาญ การที่นานๆทำสักครั้ง ก็เหมือนกับการมา
เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
การฝึกสมาธิ การเพ่งสมาธิ
บทความพระพุทธศานา
บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ