Custom Search


การรักษาภาวะนอนกรน

เป็นความเข้าใจผิดที่คนส่วนใหญ่คิดว่าการนอนกรนเป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่ไม่จำเป็นต้องรักษา
แต่ความจริงแล้วการนอนกรนเป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่ และควรเข้ารับการตรวจรักษาหาก
มีอาการรุนแรง

การรักษาภาวะนอนกรน

เบื้องต้นผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองเพื่อบรรเทาอาการ เช่น
1.ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ การออกกำลังกายจะช่วยได้
2.ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง
3.หลีกเลี่ยงการนอนหงาย โดยพยายามนอนในท่าตะแคงข้างและนอน ศีรษะสูงเล็กน้อย
4.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาทก่อนนอน
5.กรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดอันตราย ที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษา

โดยแพทย์อาจเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจ Nasal CPAP ซึ่งเป็นเครื่องครอบจมูกขณะหลับ เพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
วิธีนี้ปลอดภัยและได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกราย หรือแพทย์อาจรักษาโดยวิธี Somnoplasty คือการจี้กระตุ้นให้เพดาน
อ่อนหดตัวลง โคนลิ้นหดตัวลง หรืออาจตัดสินใจใช้วิธีการผ่าตัดเอาส่วนที่ยืดยานออก ซึ่งการจะพิจารณาเลือกรักษาการ
นอนกรน
โดยวิธีใดนั้น ก็ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละกรณ

การรักษาภาวะนอนกรน


สาเหตุการนอนกรน

1.เสียงกรนเกิดจากทางเดินหายใจ จากการที่อากาศเคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง มักเกิดจากการผ่อนคลาย
หรือหย่อนตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบนขณะนอนหลับ เช่น กล้ามเนื้อบริเวณเพดานอ่อน (soft palate)
ลิ้นไก่ (uvula) ผนังคอหอย (pharyngeal wall) หรือโคนลิ้น (tongue base)ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและ
สะบัดของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนในบริเวณนั้นเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น 

2.เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนจากต่อมทอนซิล และต่อมอดีนอยด์(adenoid) ที่โตซึ่งเป็นสาเหตุ
ของอาการนอนกรนที่สำคัญในเด็ก หรือเนื้องอกหรือซีสท์(cyst)ในทางเดินหายใจส่วนบน หรือ การที่มีโพรงจมูกอุดตัน
จากหลายสาเหตุ ดังเช่น อาการคัดจมูกจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ผนังกั้นช่องจมูกคด เนื้องอกในโพรงจมูกและ/หรือ
โพรงอากาศข้างจมูกริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบก็เป็นสาเหตุที่ให้เกิดอาการนอนกรนได้เช่นกัน 

3.การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (alcohol) 

4.การกินยานอนหลับหรือยาแก้แพ้ชนิดง่วงก่อนนอน ก็จะช่วยเสริมให้กล้ามเนื้อมีการคลายตัวมากขึ้น และอาจมี
การอุดกั้นทางเดินหายใจมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงกรนดังขึ้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก สสส.
41115


โรคภัยไข้เจ็บ 9 เทคนิคฝึกสมอง 10 วิธีฝึกสมองเพิ่มความจำ
 สมุนไพร อาหารสุขภาพ บทความสุขภาพ