คนรักสุขภาพอ่าน
บทความสุขภาพ
เื่พื่อสุขภาพที่ดี
ควรกินอาหารสุข
ภาพ เพื่อสุขภาพดี


บทความสุขภาพ
+ดื่มกาแฟลดมะเร็ง
+ถั่วงอกชะลอแ่ก่
+กินจืดยืดชีวิต
+ Article Health
+ หนังสือสุขภาพ

   บทความสุขภาพ
สุขภาพดีบำรุงรักษาผม
ดูแลสุขภาพดื่มเหล้าเสี่ยง
อาหารสุขภาพข้อดีการดื่มกาแฟ
อาหารเสริมการไม่กินเนื้อสัตว์
สมุนไพรดื่มน้ำสะอาด


สุขภาพดีสมุนไพรไทย
+ กล้วยน้ำ้หว้า
+ กระชาย
+ กระเทียม
+ ขมิ้นชัน


Stock Photos, Royalty Free Stock Photography, Photo Search
+ กระดุมทอง
+ ตำลึง
+ มะระขี้นก
+ ตระไคร้
+ บัวบก

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




โรคคาวาซากิ 

     
โรคคาวาซากิ  ความรุนแรงของโรคสามารถทำให้เด็กเสีย
ชีวิตเฉียบพลันได้ ถึงตอนนี้พ่อแม่ของเด็กทั้งหลายคงอยาก
ทราบสาเหตุของโรคนี้เพื่อความปลอดภัยของลูกหลาน   
โรคคาวาซากิ พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง  แต่ส่วนใหญ่
จะพบในเพศชายมากกว่า และพบบ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 
โดยเฉพาะในช่วงอายุ  1 - 2 ปี  โรคนี้ตั้งชื่อตามนายแพทย์
คาวาซากิ  ซึ่งเป็นแพทย์ชาวญี่ปุ่นที่ได้รวบรวมรายงานผู้ป่วยเป็น
คนแรกของโลก                             


สาเหตุของโรคคาวาซากิ  
โรคคาวาซากิ  ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เคยมีรายงานว่าเกี่ยว
กับการติดเชื้อบางชนิดทั้งแบคทีเรียและไวรัส  การใช้แชมพูซัก
พรม  หรือการอยู่ใกล้แหล่งน้ำ   แต่ไม่สามารถสรุปสาเหตุที่แท้
จริงพบว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นหลายแห่งในร่างกาย ทำให้เกิด
อาการแสดงต่าง ๆ   ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยเกิดการ
อักเสบของหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย  หากให้
การวินิจฉัยและรักษาได้ภายใน  10  วัน นับจากมีไข้  จะช่วย
ให้การอักเสบของหลอดเลือดลดลงประมาณร้อยละ 5  
ลักษณะเด่นของโรคคาวาซากิ  
  1. เด็กจะมีไข้สูงทุกคน   โดยมากมักเป็นนานเกิน 5  วัน  บางราย
อาจนาน 3 – 4 สัปดาห์อาจมีผื่นขึ้นตามตัวและแขนขา  
    2. ตาขาวจะแดง  2  ข้าง  แต่ไม่มีขี้ตา 
    3. ริมฝีปากแห้งแดง  อาจแตกมีเลือดออก  ลิ้นแดงเป็น
ตุ่ม ๆ คล้ายผิวสตรอเบอร์รี่  
     4. ฝ่ามือและฝ่าเท้าบวมแดง  ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอโต  
อาการทั้งหมดนี้จะเกิดภายในสัปดาห์แรก  ในสัปดาห์ที่  2  
จะมีการลอกของผิวหนัง  โดยเริ่มจากบริเวณปลายนิ้วมือ  
นิ้วเท้า  และอาจลามไปที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
  อาการแสดงอื่น ๆ ของโรคคาวาซากิ  ที่อาจเกิดร่วม  
ได้แก่  ข้ออักเสบโดยเฉพาะบริเวณนิ้วมือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  
ท้องเสีย  ซึ่งอาการดังกล่าวอาจหายได้เองแม้ไม่ได้รับการรักษา 
แต่ที่สำคัญคือ โรคนี้อาจทำให้เกิดการอักเสบของหัวใจและ
หลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ  ซึ่งอาจทำให้หลอดเลือด
หัวใจมีลักษณะโป่งพอง ตีบหรือแคบได้   ในรายที่หลอด
เลือดตีบแคบมาก   อาจเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
เลี้ยงเหมือนที่พบในผู้ใหญ่ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ   ทำให้
เสียชีวิตเฉียบพลันได้

          เนื่องจากการวินิจฉัย  ต้องอาศัยอาการเป็นหลักร่วมกับการ
    ตรวจเลือด  ซึ่งอาการแสดงมักเกิดไม่พร้อมกัน  จึงทำให้เกิดความ
    ยากในการวินิจฉัยหากไม่ได้นึกถึงโรคนี้ 
          การรักษา  ในช่วงที่มีไข้ใน 10 วันแรก  จะต้องตรวจหัวใจ
   ด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ด  เพื่อดูลักษณะหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ  
   และให้ยาลดการอักเสบคือ  ยาแอสไพรินขนาดสูงให้รับประทาน
   อย่างต่อเนื่องประมาณ 1 – 2 สัปดาห์  และให้โปรตีนชนิดหนึ่ง
   เข้าหลอดเลือดดำ  พบว่าหลังให้ยาดังกล่าว ไข้มักจะลดลงภาย
   ใน  24 - 48  ชั่วโมง  หลังจากไข้ลดจะต้องให้ยาแอสไพริน
   ขนาดต่ำวันละ  1  ครั้ง  รับประทานต่อเนื่อง 6 – 8 สัปดาห์  เพื่อ
   ป้องกันเกร็ดเลือดรวมกันเป็นก้อน  ซึ่งอาจไปเพิ่มการอุดตันในหลอด
   เลือดที่ผิดปกติได้  หลังจากนั้นถ้าตรวจอัลตราซาวน์ดหัวใจซ้ำพบว่า
   หลอดเลือดหัวใจปกติก็สามารถหยุดยาได้  และจากการติดตามผู้ป่วย
   ที่มีหลอดเลือดผิดปกติหลัง 8 สัปดาห์นับตั้งแต่มีไข้ไปจนถึงเวลา1ปี
   หลังจากนั้น    พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ ที่เหลือ1ใน3  
   ยังมีความผิดปกติอยู่  ต้องติดตามเป็นระยะและรับประทานยาแอสไพริน
   เป็นประจำไปตลอด 

ศ.พญ.ดวงมณี  เลาหประสิทธิพร
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


 บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ
ในหลวง
ขอจงทรงพระเจริญ
โครงการพระราชดำริ

หน้าต่างสุขภาพ

สุขภาพดีดีหน้าต่างสุขภาพ

+สุขภาพผู้หญิง
+สุขภาพผู้ชาย
+สุขภาพเด็ก
+สุขภาพวัยรุ่น
+ผู้สูงอายุ

อาหารสุขภาพสถานที่เที่ยวไทย

โรคภัยไข้เจ็บการรักษาโรค
- โรคเบาหวาน
- โรคภูมแพ้
- โรคมะเร็ง
- โรคหัวใจ
- โรคไต


อาหารสุขภาพอาหารสุขภาพ
+ อาหารบำรุงตา
+ อาหารสมอง
+ พะโล้แก้หวัด
+ จิงจูฉ่ายต้มหมู
+ ดื่มน้ำสะอาด

อาหารสุขภาพLINK WEB
+ สาธารณสุข
+ สสส