สุขภาพดี บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
ค้นหาบทความสุขภาพ remahealth.com
Custom Search
|
แพทย์แผนจีน ได้จำแนกการปวดศีรษะจากลักษณะของการปวด
ศีรษะ ได้แก่ ปวดศีรษะจากดินฟ้าอากาศภายนอก เช่น อากาศ
หนาว-ร้อน,อากาศชื้น และการปวดศีรษะที่มาจากอวัยวะภายใน
ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะได้เช่นกัน
ปวดศีรษะจากดินฟ้าอากาศ จากหลายสาเหตุ ได้แก่
1.ปวดศีรษะจากลมหนาว ส่วนมากจะมีสาเหตุมาจากการได้รับ
ความหนาวเย็นโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว มีอาการกลัวลมกลัวหนาว ปวด
ร้าวไปยังคอและบ่าไหล่ ปวดเป็นพักๆ พอเจอลมเจอหนาวจะปวด
มากขึ้น ไม่กระหายน้ำและไม่ชอบดื่มน้ำ ลิ้นขาว ชีพจรตึงลอย ปวด
ศีรษะชนิดนี้ ต้องใช้หลักกระจายลมหนาว กดจุด ป๋ายหุ้ย ไท่หยาง
เฟิงฉือ เหอกู่ ต้มน้ำขิง ใส่ต้นหอม (เฉพาะหัวขาวๆ พร้อมราก
2-3 ต้น ต้มดื่ม)
2.ปวดศีรษะจากลมร้อน ส่วนมากจะมาจากตากแดดร้อนๆ หรือมา
จากเป็นหวัดร้อน โดยจะมีอาการไข้ ตัวร้อนหรือกลัวลม ปวดแบบอัด
แน่น ปวดหัวแทบแตก หน้าแดง ตาแดง กระหายน้ำ ถ่ายแข็ง ฝ้า
เหลือง ชีพจรเร็วลอย ปวดศีรษะชนิดนี้ต้องรักษาด้วยตำรับไล่ลม
ระบายร้อน กดจุด ชีฉือ เหอกู่ เป็นต้น ดื่มน้ำเก๊กฮวย หรือน้ำจับเลี้ยง
3.ปวดศีรษะจากความชื้น อาการปวดบีบรัดเหมือนมีอะไรรัดไว้ที่
ศีรษะ ปวดหนักๆ หนักเนื้อหนักตัว เบื่ออาหาร ปัสสาวะไม่คล่อง ถ่าย
เหลว ฝ้าขาวหนา ชีพจรฝืด ปวดศีรษะชนิดนี้ต้องรักษาด้วยการไล่ลม
ขับชื้นต้องหาหมอจีนกินยาจีนที่ลดความชื้น กดจุด เหอกู่ เฟิงหลง
การปวดศีรษะที่มาจากอวัยวะภายใน
1.ปวดศีรษะจากชี่ตับอั้น มีความเครียด กดดัน งานมาก นอนน้อย ทำให้ชี่ตับอั้น โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาช่วงเตรียมตัวสอบและ
มนุษย์ทำงานออฟฟิศทั้งหลาย เมื่อสะสมนานเข้า ทำให้ปวดศีรษะ ปวดแบบเวียนๆ หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย โกรธง่าย นอนไม่หลับ ประจำเดือนไม่ปกติต้องระบายชี่ตับให้คล่อง ด้วยยาจีน กดจุด เหอกู่
ไท่หยาง ไท่ชง
2.ปวดศีรษะจากหยางตับมาก ปวดแบบเวียนๆ เหมือนนั่งอยู่ในเรือ เหมือนคนเมาเรือ หงุดหงิด โมโหง่าย นอนไม่หลับ พร้อมกับ หน้าแดง ปากขม เจ็บเสียดชายโครง ส่วนมากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีโรค
ความดันโลหิตสูง พาร์กินสัน เป็นต้น ต้องใช้ยาจีนแล้วเพิ่มลดตาม
อาการผู้ป่วย กดจุด ไท่ชง
3.ปวดศีรษะจากไฟตับสูง ปวดศีรษะทั้งศีรษะ โดยเฉพาะที่ยอด
กระหม่อม ร้าวมาที่ดวงตา ปวดแน่นดวงตา เคืองตา ตาแดง ปากขม หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย เสียดชายโครง นอนไม่หลับใบหน้าและ
ศีรษะร้อนระอุเป็นประจำ ต้องใช้ยาจีนลดไฟตับ กดจุด ไท่ชง
ข้อมูลอ้างอิง
Post 4 December 2015
บทความโรคภัยไข้เจ็บ อาหารลดอาการปวดหัว
บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ