หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion

กินเจไม่ระวัง เจอเนื้อสัตว์ปนเปื้อน

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)เผยผลตรวจอาหารเจ พบปนเปื้อนดีเอ็นเอเนื้อสัตว์น้อยลง
จาก 50% เหลือ 8.3% แต่กลุ่มผักดองและเส้นยังเจอสารกันเสีย พร้อมเอาผิดฐาน
ปนเปื้อน เดินหน้าลงพื้นที่สุ่มตรวจ แนะสมุนไพร 3 กลุ่มช่วงกินเจ ได้สุขภาพดี

กินเจไม่ระวัง เจอเนื้อสัตว์ปนเปื้อน


ช่วงเทศกาลถือศีลกินเจของทุกปี เพื่อให้ประชาชนที่รักสุขภาพกินเจอย่างปลอดภัย ได้อิ่มบุญ
ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง สธ.เฝ้าจึงระวังอาหารที่จำหน่ายให้ปลอดภัย ไม่มีการปลอมปนเนื้อสัตว์
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการกินเจอย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ รวมทั้งแนะนำ
เรื่องการรับประทานอาหารเจให้ถูกหลักโภชนาการ ลดฟวานมันเค็ม ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
เลือกซื้ออาหารในร้านที่น่าเชื่อถือ และมีสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย

Sticker line


กลุ่มผักดองพบวัตถุกันเสียกรดเบนโซอิคเกินมาตรฐานที่กำหนด ร้อยละ 53.3 กลุ่มอาหาร
ประเภทเส้นพบวัตถุกันเสียกรดซอร์บิคและสีสังเคราะห์ ร้อยละ 31.3 และพบสีอินทรีย์
สังเคราะห์ในเส้นหมี่ซั่ว ร้อยละ 38.5 ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้กรดซอร์บิคและสีสังเคราะห์ใน
อาหารประเภทเส้น อย่างไรก็ตาม กรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิค หากรับเข้าไปมากจะ
เกิดอาการผื่นแพ้ คลื่นไส้ และถ่ายท้อง

กินเจไม่ระวัง เจอเนื้อสัตว์ปนเปื้อน

นอกจากนี้ ได้ร่วมกับ อย. เฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักผลไม้ที่นิยม
10 อันดับ ได้แก่ กะหล่ำปลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักบุ้ง คะน้า แครอท มะระ ฟัก
เขียว หัวไชเท้า และผักโขม

คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า อย.จะร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ทั้งจากในและต่างประเทศ หากพบการกระทำผิด คือ มีการ
ปนเปื้อนไม่ถูกหลักอนามัยจะมีโทษตาม พ.ร.บ.อาหาร คือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
แต่หากพบ DNA ของเนื้อสัตว์ปนเปื้อนในอาหารเจ จะมีโทษหนักทั้งจำและปรับ โดย
อัตราปรับสูงสุด 100,000 บาท ควบคู่กับการให้ดำเนินการแก้ไขโดย อย.จะลงพื้นที่
สุ่มตรวจตลอดด้วย

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำให้รับประทานพืชสมุนไพร
3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 พืชสมุนไพรที่กินง่าย ช่วยให้อยู่ท้อง ได้แก่ กล้วยน้ำว้าสุก ธัญพืช มันเทศ ข้าว
โพดหวาน
กลุ่มที่ 2 พืชสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้แก่ ขิง พริกไทย
กลุ่มที่ 3 พืชสมุนไพรที่ช่วยป้องกันความดัน เบาหวานขึ้น เช่น น้ำกระเจี๊ยบ น้ำดอกคำ
ฝอย น้ำตะไคร้ น้ำตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม) และเลือกใช้ยาสมุนไพร
ในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อดูแลอาการที่ไม่พึงประสงค์จากภาวะกินเจ มีอาการอาหาร
ไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เช่น ยาขมิ้นชัน ยามะระขี้นก ยาเหลืองปิดสมุทร

ขอบคุณข้อมูลจาก https://mgronline.com/qol/detail/9620000089496

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการกินเจ
 FoodHealth 5 ผลไม้ช่วยล้างสารพิษในร่างกาย APPLE2
21919


สุขภาพผู้หญิง
สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ การรักษาโรค
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา





Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD