หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion

วิธีแก้ตากระตุก

ตากระตุกเป็นภาวการณ์เกร็งตัวของกล้ามเนื้อหนังตา (orbicularis oculi) โดยไม่ตั้งใจ
(involuntary) ในสหรัฐอเมริกาพบประมาณ 5 คน ใน 1 แสนคน โดยพบผู้ป่วยใหม่
ประมาณ 2,000 คนทุกปี มักเป็นในช่วงอายุ 50-60 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
1.8 เท่า

แครอทชะลอแก่


สาเหตของตากระตุกยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน จากการศึกษาคาดว่าน่าจะเกิดจากการประสานงาน
ผิดปกติ ( miscommunication ) ของเซลล์สมอง ( ส่วน basal ganglion ) และอาจมี
ปัจจัยอื่นร่วมด้วย

อาการเริ่มต้นอาจมีแค่เขม่นๆหรือมีการกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อไม่มาก ทำให้กระพริบตาถี่ขึ้นกว่า
ปกติต่อมาถ้าเป็นมากขึ้นจะมีกล้ามเนื้อหนังตาเกร็งจนต้องกระพริบตาแรงๆ บางคนถึงกับลืมตาไม่ขึ้น
และมีกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกเกร็งร่วมด้วย อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้


Sticker line

ภาวะที่จะทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น ความเครียด อ่อนเพลีย แสงสว่างจ้าๆ ส่วนภาวะที่จะทำให้อาการ
ดีขึ้น เช่น การนอนหลับการใช้สมาธิมุ่งมั่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การพูด การร้องเพลง ในบางคนหายเอง
ได้ บางคนจะเป็นๆหายๆ บางคนเป็นเรื้อรัง

การวินิจฉัยตากระตุก จะต้องได้รับการตรวจตาโดยละเอียดจากจักษุแพทย์ก่อน ว่าการเกิดตากระตุกนี้ไม่ได้เป็นผลต่อเนื่องมาจากโรคตาอื่นๆ เพราะมีโรคตาบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้ เช่น เปลือกตา
อักเสบ ตาแห้ง ขนตาผิดปกติ การติดเชื้อของตา กระจกตาอักเสบ ต้อหิน ต้อกระจก โรคจอประสาทตา ซึ่งถ้าตรวจพบและรักษาโรคเหล่านี้ ก็จะทำให้อาการตากระตุกหายไปได้


ดาหลาเพื่อสุขภาพ


แต่ถ้าไม่พบโรคตาอื่น ก็แสดงว่าเป็นตากระตุกชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ จะให้การรักษาโดยใช้ยากิน ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายกลุ่ม แล้วแต่แพทย์จะเลือกใช้ ถ้าใช้ยากินไม่ได้ผลก็จะพิจารณาใช้ยาฉีด
บริเวณที่มีอาการ เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้ผลดีมาก ประมาณ 95% ของผู้ป่วยจะ
มีอาการดีขึ้น โดยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 เดือน ก็จะต้องฉีดซ้ำ ต้องอยู่ในความดูแลของ
แพทย์

แต่บางคนอาจอยู่ได้ 6-9 เดือน ผลข้างเคียงพบได้บ้าง แต่เป็นอยู่ชั่วคราวจะหายไปเองได้ เช่น หนัง
ตาตก ตาปิดไม่สนิท หนังตาม้วนเข้าในหรือม้วนออกนอก มองเห็นภาพซ้อน เป็นต้น

ถ้าใช้ยาฉีดไม่ได้ผลถึงจะใช้วิธีผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอากล้ามเนื้อหนังตาออก ( myectomy ) ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้มากกว่าการผ่าตัดเส้นประสาท ( neurectomy )ที่พบภาวะแทรกซ้อนได้มาก
กว่า

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการตากระตุกอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนาน ก็ควรไปพบจักษุแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกวิธี

ข้อมูลอ้างอิง คณะอนุกรรมการวิชาการ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
220915
บทความโรคภัยไข้เจ็บ อาหารชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม
วิธีป้องกันตาแห้ง เห็นแสงวาบในลูกตา


สุขภาพผู้หญิง
สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ FoodHealth
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา



Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD