สุขภาพดี บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
ค้นหาบทความสุขภาพ remahealth.com
Custom Search
|
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
คลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา
วิทยาลัย ระบุว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกานั้นไม่เป็นอันตรายในกลุ่มที่มี
สุขภาพแข็งแรง
ทั้งนี้คนที่ได้รับเชื้อไวรัสซิกาเข้าไป 2-7 วันมีไข้ขึ้น บางคนมีผื่นปวด
เมื่อยเนื้อตัว ตาแดง ถือเป็นกลุ่มอาการที่คล้ายกับไข้เลือดออกและ
โรคไข้ปวดข้อชิคุณกุนยา ซึ่งอาการค่อนข้างคล้ายกันจึงแยกโรคได้
ยาก การแยกได้จริง ๆ จะต้องมีการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเท่า
นั้น แต่โรคจะหายได้เอง
ไข้เลือดออกมีความรุนแรงกว่าไข้ซิกา แต่ไข้ซิกาเปรียบได้กับโรคหัด
เยอรมันที่ไม่รุนแรง มีไข้ออกผื่น อาการไม่รุนแรง แต่ที่ต้องให้ความ
สำคัญเพราะโรคนี้ก่อให้เกิดความพิการในเด็ก จึงทำให้เกิดความตื่น
ตัวกับไข้ซิกากันมากขึ้น หลังพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เด็กบราซิล
จำนวนมากเกิดมาศีรษะเล็กผิดปกติ
ศ.นพ.ยง บอกว่า เชื้อซิกาไปทำอะไรกับสมองของเด็กถึงทำให้มีผล
ลัพธ์ออกมาเช่นนั้น ยังไม่มีใครบอกได้ชัดเจน แต่หัดเยอรมัน เมื่อเข้า
ไปแล้วจะเกิดการติดเชื้อที่เซลล์ แล้วไปขัดขวางการพัฒนาของเซลล์
ในระบบประสาทของทารก ทำให้สมองพัฒนาได้ไม่เต็มที่ จึงมีการคาด
เดาว่าน่าจะมีส่วนคล้ายกัน คงต้องใช้เวลาศึกษาเรื่องนี้อีกสักระยะ
กรณีมารดาติดเชื้อ และต้องการตรวจสอบว่าทารกติดเชื้อ สามารถทำ
ได้ โดยการตรวจจากน้ำคร่ำ (amniotic fluid) ควรทำหลัง 15
สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ การตรวจจากรก ก็สามารถบอกได้ว่ามีการติด
เชื้อในครรภ์ รวมทั้งการตรวจจากเนื้อเยื่อจากทารกที่สูญเสีย หรือตาย
ตรวจพบพันธุกรรมของซิกา
ในกรณีที่ติดเชื้อซิกามานานแล้ว ควรตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูขนาด
ศีรษะ ซึ่งการพบศีรษะเล็ก การพบแคลเซียมเกาะในเนื้อสมอง หรือ
สงสัยควรปรึกษาสูติแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญทางโรคติดเชื้อ
เชื้อซิกา เป็นโรคที่มี ยุงลาย เป็นพาหะ ดังนั้นการทำลายลูกน้ำแหล่ง
เพาะพันธุ์ยุงลายคือทางป้องกันที่ดีที่สุด ซึ้งก็สามารถป้องกันโรคไข้
เลือดได้ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญ
เฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะ
แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จาก Msn)
Post 90216
บทความโรคภัยไข้เจ็บ