สุขภาพดี บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
![]() Custom Search
ต่อมน้ำลายสำคัญต่อช่องปากอย่างไร |
ต่อมน้ำลายของคนเราประกอบด้วยต่อมสำคัญที่ทำหน้าที่หลัก 3 คู่ คู่
หนึ่งอยู่ที่บริเวณด้านแก้มของฟันกรามบนซี่แรกทั้งสองข้าง และอีก
สองคู่อยู่ที่บริเวณด้านใต้ลิ้นของฟันหน้าล่าง นอกจากนี้ยังมีต่อมน้ำ
ลายเล็กๆ กระจัดกระจายตามด้านในของริมฝีปากล่างและตามกระพุ้ง
แก้มอีกด้วย
ต่อมน้ำลาย จะขับน้ำลายออกมา โดยสกัดจากส่วนของเลือดที่ไหลเวียน
ผ่านมาที่ต่อมน้ำลาย และมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติบางประการ ทำให้
น้ำลายที่ได้จากต่อมน้ำลายมีส่วนประกอบทางเคมีต่างกับในเลือด
ต่อมน้ำลาย มีสารประกอบต่างๆได้แก่
+โปรตีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของน้ำลายที่มีคุณสมบัติในการหล่อลื่นและ
เป็นตัวการที่ทำให้น้ำลายข้น เหนียว โปรตีนยังทำหน้าที่อื่นๆอีกหลาย
ประการ
+ เอนไซม์หลายชนิด ที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายอาหาร หรือสารประกอบ
พวกแป้งและโปรตีนในปากได้ด้วย ดังจะรู้สึกได้ว่า เมื่อเราอมข้าว ซึ่งเป็น
อาหารประเภทแป้งชนิดหนึ่งไว้ในปากเป็นเวลานานพอ จะรู้สึกถึงความหวาน
ได้ เนื่องจากข้าวถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์จากน้ำลายให้มีขนาดเล็กลง
จนเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ซึ่งให้ความหวานในที่สุด
+น้ำลาย มีสารที่ทำหน้าที่ให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย ในการต่อต้านสารแปลก
ปลอม หรือสารพิษที่เกิดจากคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก ซึ่งสารนี้เองที่ทำให้
น้ำลายมีคุณค่าในการต่อต้านโรคในช่องปาก เช่น โรคฟันผุ และโรค
เหงือกอักเสบ
+แร่ธาตุในน้ำลาย โดยเฉพาะแคลเซียม ฟอสเฟต มีปริมาณที่มากเกิน
จุดอิ่มตัว เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนประกอบที่เป็นแร่ธาตุของเคลือบฟัน จึง
มีความสำคัญในการต่อต้านการละลายตัวของชั้นเคลือบฟัน ในการเกิด
โรคฟันผุ
คุณสมบัติของน้ำลายในการปรับสภาวะกรด-ด่างในช่องปาก ซึ่งอาจมา
จากส่วนประกอบโปรตีน และ/หรือฟอสเฟต เพื่อลดความรุนแรงของกรด
ที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ในปากที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ
น้ำลายยังทำหน้าที่ ในการขับยา หรือสารประกอบบางชนิดออกจากร่าง
กายได้เช่นเดียวกับการขับออกทางปัสสาวะ โดยสามารถตรวจพบฮอร์โมน
หรือยาบางชนิดในน้ำลาย จนอาจใช้การตรวจน้ำลายเป็นตัวบ่งชี้ถึงการ
สะสมหรือการคั่งของสารเหล่านี้ในร่างกาย แทนการตรวจเลือดหรือปัสสาวะ
ทั้งนี้เพราะการเก็บน้ำลายสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยกว่า
โดยปกติ น้ำลายจะหลั่งออกมาสม่ำเสมอ ประมาณ 1 ซี.ซี./นาที แต่จะ
ไหลออกมามากขึ้นถ้าได้รับการกระตุ้น เช่น เอาอาหารไปวางไว้บนลิ้นหรือ
แม้กระทั่งการเห็นหรือนึกถึงอาหารที่ชอบ หรือมีรสจัดโดยเฉพาะอาหาร
รสเปรี้ยว จะกระตุ้นน้ำลายให้ออกมามาก เพื่อเตรียมพร้อมในการทำหน้า
ที่ในระหว่างการกินอาหาร
ในทางตรงข้ามน้ำลายจะหลั่งออกน้อยลง ถ้าร่างกายอยู่ในระยะพัก เช่น
เวลานอนหลับ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ดังนั้นสุขอนามัยในช่องปาก
ในตอนก่อนนอนจึงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะหลังจากนั้นจะไม่
มีน้ำลายมาช่วยทำหน้าที่ชะล้างเท่าเวลากลางวัน
อย่างไรก็ดี เนื่องจากในช่องปากของคนเรา มีเชื้อจุลินทรีย์จำนวนมาก
มายหลายชนิด ซึ่งนอกจากไปเกาะตัวอยู่บนฟันและขอบเหงือกแล้วใน
น้ำลายก็เป็นที่อยู่สำคัญของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ ทั้งนี้เนื่องจาก
น้ำลายในปากจะผสมผสานกับเชื้อจุลินทรีย์ เศษอาหารที่ตกค้างและ
ของเหลวอื่นๆในปาก จึงมีคุณสมบัติต่างจากน้ำลายแท้ ที่หลั่งออกมา
จากต่อมน้ำลายโดยตรง โดยทั่วไปน้ำลาย ที่เราพูดถึงมักจะหมายถึง
น้ำลายในปากที่ไม่บริสุทธิ์ สะอาด เพราะมีเชื้อจุลินทรีย์อยู่ด้วย จึงเป็น
ที่น่ารังเกียจ
นอกจากนี้ ส่วนประกอบแคลเซียม ฟอสเฟตในน้ำลาย ก็เป็นตัวการสำคัญ
ของการเกิดหินปูนหินน้ำลายตามขอบเหงือก ซึ่งเป็นสาเหตุของเหงือก
อักเสบได้ต่อไป
ขอบคุณข้อมูล หมอชาวบ้าน
http://doctor.or.th/article/detail/5361
Post 18 June 2014
บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ