สุขภาพดี บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
![]() Custom Search
|
นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณี
โรคไข้เลือดออก และมีกระแสว่าเป็นไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ ว่า โรคไข้เลือดออกที่พบในไทยเกิดจากไวรัสเดงกี มี 4สายพันธุ์มียุง
ลายเป็นพาหะนำโรค โดยยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีสายพันธุ์ใหม่ ส่วน
การป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด
เพราะยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก
![]() |
อาการไข้เลือดออก
นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.)กล่าวว่า ผู้ป่วยโรค
ไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูงลอย คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือด เบื่อ
อาหาร หน้าแดง มีจุดเลือดที่ผิวหนัง เลือดกำเดาไหล มีเลือดออก
ตามไรฟัน
ถ้ามีอาการดังกล่าวขอให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรค
และรักษา หากเป็นไข้เลือดออกแล้ว ช่วงระยะไข้ลดลงในวันที่ 3 - 4
ของการป่วย หากผู้ป่วยมีอาการซึมลง กินอาหารดื่มน้ำไม่ได้ อาจเข้าสู่
ภาวะช็อก ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสีย
ชีวิต ทั้งนี้ การติดเชื้อครั้งแรกอาการจะไม่รุนแรงมาก แต่การติดเชื้อ
ครั้งที่สองที่ต่างสายพันธุ์จะทำให้เกิดอาการรุนแรง
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร.กล่าวว่า สถานการณ์ในไทย
ตั้งแต่ ม.ค.- พ.ย. 2558 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 102,000 ราย เสีย
ชีวิต 102 ราย ถือว่าไข้เลือดออกระบาดหนัก แต่ไม่รุนแรงเท่าปี
2556 แต่หากพิจารณาในช่วง ต.ค.-พ.ย. พบป่วยมากขึ้นกว่าปีก่อน แต่ถือว่าผู้ป่วยเริ่มชะลอตัวลง โดยพบผู้ป่วยรายใหม่ 3,000 - 4,000 รายต่อสัปดาห์ จากช่วงที่มีการระบาดสูงสุดใน ส.ค. มีผู้ป่วย 7,000
รายต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง หากมีผู้
ป่วย 1,000 ราย จะเสียชีวิต 1 ราย จาก 2 สาเหตุ คือ 1.ภาวะเลือด
ออก และ 2. เลือดรั่วจากเส้นเลือดและเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้
ที่น่าสังเกตคือปีนี้อากาศร้อนค่อนข้างมาก ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโต
ของเชื้อไวรัสเดงกี บวกกับฝนตก ๆ หยุด ๆ ทำให้ลูกน้ำยุงลายมี
ปริมาณมาก และเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เมื่อมีฝน
ตกมากคนอยู่รวมกันหนาแน่น โอกาสที่จะแพร่ระบาดก็เพิ่มมากขึ้น
เช่น นครราชสีมา เชียงใหม่ กทม. ซึ่งการป้องกันที่สำคัญที่สุดต้อง
กำจัดลูกน้ำยุงลาย เพราะลูกน้ำที่เกิดจากยุงลายที่มีเชื่อไข้เลือด
ออกก็จะมีเชื้ออยู่ในตัวเลย
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.manager.co.th
Post 11Nov.2015
ยุงชอบกัดใคร อาการของโรคไข้เลือดออกบทความโรคภัยไข้เจ็บ
บทความสุขภาพ สมุนไพร อาหารสุขภาพ