หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion

ปัญหาของผู้ชายวัยทอง

ผู้ชายเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรนซึ่งเป็น
ฮอร์โมนเอนโดรเจนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อลักษณะทางกายภาพเเละสรีระวิทยา
ของเพศชายลดลง ซึ่งหากมีการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และมีความเครียดร่วมด้วย การผลิต
ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนก็จะลดลงในอัตราที่สูงขึ้น

ปัญหาของผู้ชายวัยทอง


และหากการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลดลงถึง 30 % ชายผู้นั้นก็จะมีอาการคล้ายหญิง
วัยทอง
หงุดหงิดง่าย และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

Sticker line

ผู้ชายทุกคนจะเข้าสู่ช่วงวัยทองแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการดูแลภาวะสุขภาพ หากมีการ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีไขมันในเส้นเลือดชนิดเลว LDL น้อย (ไม่เกิน 160 มิลลิกรัมต่อ
เดซิลิตร) มีการดูแลไขมันในเส้นเลือดชนิดดี HDL มีภาวะกระดูกแข็งแรง ต่อมลูกหมากไม่
โต ภาวะความดันโลหิตไม่สูง ไม่มีเบาหวาน ไม่มีโรคอ้วน ภาวะเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้ร่าง
กายผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนได้ค่อนข้างดี และเข้าสู่ช่วงวัยทองช้าลง

ปัญหาของผู้ชายวัยทอง

รู้ได้อย่างไรว่าเข้าสู่วัยทองแล้ว
1. สังเกตจากอาการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ   
+อาการทางร่างกาย เช่น  อ่อนเพลีย หลับง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยตามตัว
+อาการทางระบบประสาทและสมอง เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย ร้อนวูบวาบ
+อาการของสุขภาพทางเพศ ได้แก่ ตื่นเช้าแล้วอวัยวะเพศไม่แข็งตัว เวลามีความเพศ
สัมพันธ์อวัยวะเพศแข็งตัวไม่พอ มีการหลั่งไว มีอารมณ์ทางเพศน้อยลง

2. สังเกตจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนโดยการเจาะเลือดหากมีระดับฮอร์โมนเทส
โทสเทอโรนต่ำกว่า 4.4 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ร่วมกับอาการในข้อที่ 1 แพทย์ก็จะ
วินิจฉัยว่ามีภาวะพร่องฮอร์โมน จากนั้นจะพิจารณาให้ฮอร์โมนเสริมทดแทน โดยในการ
ฮอร์โมนในชายวัยทองแต่ละรายจะมีปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อม
อาการ และระดับฮอร์โมนของแต่ละบุคคล

อย่างไรก็ตามชายวัยทองที่จะรับฮอร์โมนเสริมทดแทนจะต้องไม่มีข้อห้ามในการให้ฮอร์โมน
เช่น เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก นอนกรนและมีการหยุดหายใจ เป็นต้น

คนรอบข้างโดยเฉพาะภรรยา จะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลสุขภาพชายวัยทอง โดย
ควรเข้าใจ เอาใจใส่ และให้กำลังใจ ส่วนบุตรหลานเมื่อเห็นคุณพ่อ หรือคุณปู่ มีอาการเข้า
ข่ายชายวัยทองก็สามารถช่วยดูแลได้โดยการพาไปตรวจสุขภาพและปรึกษาปัญหากับแพทย์

อาหารที่ทำให้คุณผู้ชายหล่อ อาการวัยทอง ผู้หญิง-ผู้ชายไม่ต่างกัน
ข้อมูลอ้างอิงจากthaiandropause.com
270217


สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ การรักษาโรค
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา





Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD