บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีดี
![]()
Custom Search
อาหารที่เป็นภัยต่อกระดูก |
การเสริมสร้างกระดูกเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ จากการกิน
อาหารที่มีแคลเซียมสูง
เื่พื่อป้องกันโรคกระดูก แต่มีอาหารหลายชนิด
ที่ไปทำลายการดูดซึมของแคลเซียม เราจึงควรมารู้กันว่า เป็นอาหาร
ชนิดใดบ้าง
![]() |
อาหารที่เป็นภัยต่อกระดูก
1.คาเฟอีน เจอร์รี นีฟส์ ผู้เชี่ยวชาญแห่งมูลนิธิกระดูกพรุน บอกว่า
ถ้าคุณเป็นชอบดื่มกาแฟตอนเช้าสัก 1-2 แก้วก็ขอให้ระวังไว้ว่าหาก
ดื่มมากเกินไปอาจลดทอนศักยภาพของร่างกายในการดูดซึมแคลเซียม
และถ้าดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 3 แก้วอาจเป็นอันตรายต่อกระดูก
![]() |
นอกจากนั้นในน้ำอัดลมก็มีคาเฟอีนเช่นกัน ดังนั้นขอให้อ่านฉลากดู
รวมถึงยาแก้หวัด ยาแก้ปวด และยาแก้แพ้ ก็อาจมีคาเฟอีนเช่นกันทาง
ชดเชยในกรณีที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน คือทานอาหารที่มีแคลเซียม
อย่างเพียงพอ (ประมาณวันละ 1,200 มิลลิกรัม ขึ้นอยู่กับอายุ)
2.อาหารรสเค็มเกิน อาหารการกินที่มีเกลือมากเกินไป อาจทำให้ไต
ปล่อยแคลเซียมออกมา อันส่งผลต่อกระดูก นีฟส์ อธิบายว่าการกิน
อาหารแปรรูปที่เขียนว่ามีโซเดียม 20% หรือมากกว่านี้ทุกวัน จัดว่า
มีโซเดียมสูง สมาคมโรคหัวใจอเมริกันแนะนำให้กินโซเดียมวันละไม่
เกิน 2,400 มิลลิกรัม ควรลดอาหารแปรรูป และอาหารกระป๋อง
3.รำข้าวสาลี การกินซีเรียลที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ ร่วมกับนม ทำให้
ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุบางอย่างจากนมได้ ดร.พาเมลา สมิธ
ผู้อำนวยการแผนกวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหา
วิทยาลัยฟลอริดา อธิบายว่าไฟเตตและไฟเบอร์จากรำข้าวสาลี ทำให้
การดูดซับแคลเซียมในอาหารที่กินไปพร้อมกันนั้นลดลง แน่นอนว่า
ร่างกายของเราดูดซึมแคลเซียมไปได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด
ควรรอสัก 2 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารที่เต็มไปด้วยไฟเบอร์ ก่อนกิน
อาหารเสริมแคลเซียมหรือแมกนีเซียม หรือดื่มนมมากตอนกินซีเรียล
4.น้ำอัดลม ฟอสฟอรัสในโซดาและเครื่องดื่มอื่นๆ อาจเพิ่มความ
เสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหัก นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าสภาพการณ์นี้
เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เชื่อว่าฟอสฟอรัสอาจเพิ่มสภาพความเป็นกรด
อันทำให้แคลเซียมในกระดูกลดลง สมิธบอกว่าในโครงสร้างกระดูก
นั้นต้องการฟอสฟอรัสด้วย แต่หากมีมากเกินไปร่างกายจะขับแคล
เซียมและแมกนีเซียมออกมา
5.อาหารที่มีเนื้อสัตว์มาก การกินอาหารที่โปรตีนสูงเกินไป โดย
เฉพาะโปรตีนจากสัตว์ จะดูดซึมแคลเซียมไปจากไต แต่สิ่งที่กล่าว
นี้ไม่รวมถึงโปรตีนจากผลิตภัณฑ์นมเนย ซึ่งมีแคลเซียมกับฟอส-
ฟอรัสที่สมดุลกันอย่างดี
นีฟส์แนะให้คำนวณที่จำเป็นต่อการบริโภคสำหรับร่างกายของเราควร
เรียนรู้ปริมาณการบริโภคโปรตีน ซึ่งควรมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของอาหาร
ในจาน อีก 2 ส่วนที่เหลือควรเป็นผักและคาร์โบไฮเครตที่ดีต่อสุขภาพ
อย่างข้าวกล้อง
6.ถั่วชนิดต่างๆ มีไฟเบอร์สูง ไขมันต่ำ ควรระวังว่าถั่วเหล่านี้อาจ
แทรกแซงศักยภาพของร่างกายในการดูดซึมแคลเซียม นีฟส์บอกว่า
พวกมังสวิรัติที่กินถั่วมากๆ ควรระวังเรื่องนี้ เพราะไฟเตตในถั่วทำให้
ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ ได้ไม่ดี
ควรนำถั่วดิบหรือถั่วแห้งไปแช่น้ำหลายชั่วโมงหรือค้างคืน แล้วค่อย
นำไปปรุงอาหาร ทำให้สุกเพื่อสลายไฟเตต เมื่อกินอาหารที่ประกอบ
ด้วยถั่ว รอสัก 2-3 ชั่วโมงจึงกินอาหารที่มีแคลเซียม
7.แอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์แบบพอประมาณอาจดีต่อกระดูก
แต่หากมากกว่าวันละ 3 แก้วจะส่งผลเสียต่อกระดูก เพราะนอกจาก
ความเสี่ยงด้านสุขภาพแล้ว แอลกอฮอล์ในปริมาณมากยังลดการก่อ
ตัวของกระดูกและทำให้กระบวนการย่อยสลายวิตามินดีกับแคลเซียม
เปลี่ยนไป นอกจากนั้น คนจำนวนมากที่ดื่มมากเกินไปยังเท่ากับกิน
อาหารที่มีแคลเซียมไม่มากพออีกด้วยอีกทั้งหากดื่มมากเกินไปยังมี
แนวโน้มจะหกล้มแล้วกระดูกหักได้ด้วย
ควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหลือวันละ 1-2 แก้ว (ไวน์ 1 แก้ว เบียร์ 1 กระป๋อง แอลกอฮอล์ 1 ออนซ์) และกินน้ำผักหรือน้ำผลไม้
เพิ่ม เพราะช่วยเสริมสร้างกระดูก
ข้อมูลอ้างอิง MSN
130616
FoodHealth