บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีดี
![]()
Custom Search
|
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำพริกพร้อมบิโภค
ตั้งแต่ปีงบฯ55-58 พบว่ามีใช้วัตถุกันเสียเกินปริมาณที่อนุญาต ที่พบ
มากสุด ได้แก่ กรดเบนโซอิค โดยพบในน้ำพริกแบบแห้ง และแบบ
เปียก
![]() |
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากที่
ได้เก็บตัวอย่างน้ำพริกพร้อมบริโภค เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกะปิ
น้ำพริกขี้กา น้ำพริกเผา น้ำพริกปลาร้าสับ น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก
แจ่วบอง ที่จำหน่ายตามตลาดสด ตลาดนัด ศูนย์โอทอป
![]() |
ศูนย์ของฝากทั่วประเทศ ตั้งแต่ปีงบฯ55-58 รวม 1,071 ตัวอย่าง
พบไม่ผ่านมาตรฐาน 164 ตัวอย่าง (15%) เป็นน้ำพริกพร้อมบริโภค
แบบเปียก 346 ตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตรฐาน 84 ตัวอย่าง (24%) และ
น้ำพริกแบบแห้ง 725 ตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตรฐาน 80 ตัวอย่าง ( 11%)
สาเหตุพบใช้วัตถุกันเสียเกินปริมาณที่อนุญาต ที่พบมากสุด ได้แก่ กรด
เบนโซอิค โดยพบในน้ำพริกแบบแห้ง 1,089-6,872 มิลลิกรัม/กิโล
กรัม และแบบเปียก 1,005-14,004 มก./กก. (ข้อกำหนดอ้างอิง
ตามมาตรฐาน โคเด็กซ์ ไม่เกิน 1,000 มก./กก.)
และพบปนเปื้อนจุลินทรีย์-เชื้อโรคอาหารเป็นพิษเกินมาตรฐาน4.7%
พบมากที่สุดในน้ำพริกแห้งจากผลตรวจที่ได้ พบน้ำพริกแบบเปียกใช้
วัตถุกันเสีย เกินมาตรฐานมากกว่าแบบแห้ง ขณะแบบแห้ง ปนเปื้อน
เชื้อจุลินทรีย์มากกว่าแบบเปียก เชื้อโรคอาหารเป็นพิษ น้ำพริกทั้ง 2 แบบ มีโอกาสตรวจพบเท่ากัน
นพ.อภิชัยกล่าวว่า น้ำพริกพร้อมบริโภคมีคุณภาพไม่เป็นไปตามเกณฑ์
มาตรฐาน ส่วนใหญ่ใช้วัตถุกันเสียเกินกำหนด แต่เมื่อประเมินความ
เสี่ยงจากการบริโภคน้ำพริกคลุกข้าวยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย แต่ก็ต้อง
ตรวจเฝ้าระวังประจำ
เพราะจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษที่ติดปนมา
กับพริก เครื่องเทศสปอร์เชื้อทำลายได้ยากภายใต้กระบวนการผลิตน้ำ
พริกที่ใช้ความร้อนไม่สูงนัก
เขตสุขภาพที่พบว่าน้ำพริกสำเร็จรูปไม่ผ่านมาตรฐานมากที่สุด 2อัน
ดับแรกคือ เขตสุขภาพที่ 1 จ.เชียงใหม่ เชียงราย และเขตสุขภาพที่ 9
จ.นครราชสีมา ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งควรเลือกซื้อที่ผลิต
ใหม่ๆ มีฉลาก-เลขสารบบอาหาร วันผลิต-หมดอายุ เมื่อเปิดแล้วควร
เก็บเข้าตู้เย็น
ข้อมูลจาก สสส.
Post 210916
FoodHealth