ค้นหาบทความสุขภาพ remahealth
Custom Search
|
ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลการตรวจ การตกค้างของสารเคมีอยู่ในพืชผัก
ที่จำหน่ายในท้องตลาดพบว่ามีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณสูงในผัก
10 ชนิดจากการสำรวจเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561
ผัก 10 ชนิด พบสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่
กวางตุ้ง คะน้า ถั่วฝักยาว พริก แตงกวา กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี ผักบุ้งจีน มะเขือ ผักชี
สารพิษตกค้าง จากยาฆ่าแมลงตกค้างหากได้รับในปริมาณมากจะทำให้เวียนศีรษะ หน้ามืด
ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจวายและตาย แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยๆ ค่อยๆสะสมในร่างกายจะเป็น
สาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้
เพื่อความปลอดภัย ก่อนกินหรือนำผักมาปรุงอาหาร ต้องล้างให้
สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างหรือการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค
วิธีล้างผักให้สะอาด
1.ให้แช่ผักในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลผ่านและคลี่ใบผักถูไปมานาน 2 นาที
2.แช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วนน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4
ลิตร แช่นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด
3.ด่างทับทิม ให้ใช้ด่างทับทิมประมาณ 20-30 เกล็ด ผสมกับน้ำ 4 ลิตรแล้วจึงนำผักมา
แช่ไว้ในน้ำด่างทับทิมประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยสะอาดอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้
จะช่วยลดประมาณของสารพิษตกค้างได้ประมาณ 35-43%
4.ผงฟู (Baking Powder) (เบกกิ้งโซดา + แป้ง) – ให้ใช้ผงฟู 1/2 ช้อนโต๊ะ นำมา
ผสมกับน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา 10 ลิตร แล้วนำผักหรือผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที
และล้างออกด้วยสะอาดอีกครั้งหนึ่ง ช่วยลดปริมาณของสารพิษจากยาฆ่าแมลงได้มากกว่า
90% และเป็นวิธีที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตราย (เพราะผงฟูกินได้)
5.น้ำเกลือ เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ นำมาผสมกับน้ำ 4 ลิตรนำผักผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ประมาณ
10 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง จะช่วยลดปริมาณของสารพิษตกค้างได้
ประมาณ 27-38%
จากข้อมูลการตรวจของกระทรวงสาธรณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2561
พบว่า ผักและผลไม้สดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 100% มีจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่ง
หน่อไม้ฝรั่ง มังคุด ผักกาดขาวปลี ถั่วแขก และข้าวโพดหวาน มีสารพิษตกค้างในปริมาณ
ที่ต่ำมาก หรือแทบจะไม่มีสารพิษตกค้างเลย
ข้อมูลจาก กรมอนามัย, กระทรวงเกษตร, medthai.com
FoodHealth 251018
สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ การรักษาโรค
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา