บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ เพื่อสุขภาพดีดี
ค้นหาบทความสุขภาพ remahealth.com
Custom Search
วิธีดูแลบุคคลที่มีความรู้สึกสูญเสียอย่างรุนแรง
|
วิธีดูแลบุคคลที่มีความรู้สึกสูญเสียอย่างรุนแรง ซึ่งจะมีอาการที่แสดง
ออก ได้แก่ มีปฏิกิริยาความโศกเศร้ารุนแรงที่แสดงออก เช่น เป็นลม
หายใจเร็ว ร้องไห้คร่ำครวญ ตีอกชกหัว ชัก มีความโศกเศร้าที่รุนแรง
ยาวนาน
การช่วยเหลือผู้ใกล้ชิดที่โศกเศร้าสามารถแบ่งเป็น "ทฤษฎี 3 L" คือ
1. LOOK มองหา มองเห็น ได้แก่ การสำรวจค้นหาคนหรือกลุ่ม
เสี่ยง เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ต้องการความ
ช่วยเหลือเร่งด่วน เช่น แสดงความโศกเศร้ารุนแรง กินไม่ได้นอนไม่
หลับ
2. LISTEN รับฟัง คือ มีสติรับฟังอย่างตั้งใจ ใช้ภาษากาย เช่น
สบตา จับมือ โอบกอด เพื่อช่วยให้ผู้สูญเสียบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึก
คลายความทุกข์ในใจ และจัดการอารมณ์ให้สงบ
3. LINK ช่วยเหลือ ส่งต่อ คือ ให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็น
พื้นฐาน ในกรณีที่ช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์
ตัวเองไม่ได้ โศกเศร้ารุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตาย ให้ส่งต่อตามความ
เหมาะสม
ถึงแม้วันนี้ การสูญเสีย ในหลวง ร.9 จะเป็น ความโศกเศร้า อัน
ใหญ่หลวงของมหาชน แต่ก็เป็นโอกาสในการสร้างความเป็นหนึ่งอัน
เดียวกัน ที่จะได้แสดงความรู้สึกร่วมกัน และสืบทอดปณิธานของ
พระองค์ท่านเพื่อให้สังคมไทยก้าวต่อไป
ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต
Post191016