บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
ค้นหาบทความสุขภาพ remahealth.com
Custom Search
สติปัฏฐาน 4
|
สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติ
เพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ
มหาสติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือกาย เวทนา จิต และ ธรรม สติปัฏฐาน
4 ทางสายเอกเพื่อบรรลุุธรรม
คำว่าสติปัฏฐานนั้นแปลว่า สติที่ตั้งมั่น,การหมั่นระลึก,การมีสัมมาสติ
ระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้แล้วระลึก
รู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประเภท
หนึ่ง ส่วนปัฏฐาน แปลได้หลายอย่าง แต่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร และ
สติปัฏฐานสูตร หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่ง
มองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้ว
ยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายใน
ที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมา
ประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา
แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ และเป็นอนัตตา
2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มอง
เวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือ
เรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็น
ความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการ
นำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์
เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อ
ลอย มีโทสะ เบื่อ โมโห หดหู่ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้ง
รูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น
อนัตตา นำธรรมอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้ามาดับทุกข์
พุทธประสงค์ให้ปฏิบัติในชีวิตประจําวัน กล่าวได้ว่าแทบทุกลมหาย
ใจ เมื่อจิตหรือสติวนเวียนระลึกรู้หรือพิจารณาอยู่ในธรรมทั้ง 4 แล้ว จิตย่อมหยุดส่งจิตออกนอกไปนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ อันก่อให้เกิดทุกข์
จิตอยู่ในที่อันควรแลสงบ
ขณะจิตนั้นเองจิตย่อมเกิดกําลังแห่งจิตขึ้นเนื่องจากสภาวะปลอดทุกข์
ขึ้นทีละเล็กทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว อันยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจใน
ธรรมนั้นทีละเล็กทีละน้อย สะสมขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจักเกิดสภาวะ
อ๋อ มันเป็นเช่นนั้นเอง เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นๆอย่างแท้จริง
ข้อมูลจาก วิกีพีเดีย,nkgen.com/
บทความพระพุทธศานา
4417