หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion

ความไม่ยึดมั่น - พุทธทาสภิกขุ

คนโดยมากไม่เข้าใจคำว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่น บางคนก็เข้าใจผิดไปเสียก็มี ทำให้ปฏิบัติ
ในข้อนี้ไม่ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้จะไปโทษพระธรรมคำสอนก็ไม่ได้ มันก็ต้องโทษความ
ไม่รู้ความไม่เข้าใจของคนเหล่านั้นเอง จึงเป็นหน้าที่ที่เขาจะต้องทำความเข้าใจกันให้
ถูกต้อง

ความไม่ยึดมั่น - พุทธทาสภิกขุ


ทีนี้เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่ก็เหมือนกัน ถ้าแปลมาจากคำว่า อนุปาทาน คือไม่ยึด
มั่นถือมั่นก็ดี หรือจะแปลมาจาก อภินิเวสายะ ซึ่งแปลว่า #ไม่ควรฝังตัวเข้าไป นี้ก็ดี
เรียกเป็นไทย ๆ ว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งนั้นคนก็ไม่เข้าใจคำ ๆ นี้ แล้วก็ไปตั้งข้อสงสัยว่า


Sticker line

ถ้าไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นอะไรแล้ว จะได้อะไร หรือจะมีอะไรเป็นที่พึ่ง ที่จริงคำว่าไม่ยึดมั่น
ถือมั่นนี้ มีความหมายลึกซึ้ง คือหมายถึงไม่มีความรู้สึกคิดนึกสำคัญมั่นหมายว่า เป็นตัว
เราหรือว่าเป็นของ ๆ เราเท่านั้น

 

ความไม่ยึดมั่น - พุทธทาสภิกขุ

คนบางคนสงสัยต่อไปว่า เราต้องยึดมั่นถือมั่น เช่น จะต้องยึดมั่นถือมั่นในพระพุทธเจ้า
ยึดมั่นถือมั่นในพระธรรม ยึดมั่นถือมั่นในพระสงฆ์กันอย่างนี้อยู่ทั่ว ๆ ไป เมื่อใครมา
บอกว่าไม่ให้ยึดมั่นอะไรก็กลัว หรือเข้าใจไม่ได้ หรือในที่สุดก็ไม่เชื่อ เพราะจะยึดมั่น
ถือมั่นในสิ่งที่เขารักเขาพอใจ หรือเขาเห็นว่าจะเป็นที่พึ่งได้เสมอไป

นั้นมันก็เป็นการถูกต้องแค่นิดเดียว พึงทำความเข้าใจว่า การถึง กับ การยึดมั่นถือมั่น
นั้นไม่เหมือนกันเมื่อเราพูดว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
อย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าให้ยึดมั่นถือมั่นพระพุทธเจ้าว่าเป็นตัวเราหรือของเรา แม้
จะพูดว่าให้ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งก็มีความหมายว่า ให้ถือเอาเป็นตัว
อย่างในการที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร

พระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้น คือตัวความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง เมื่อผู้ใดมีจิตใจไม่ยึดมั่น
ถือมั่นอะไรเป็นตัวตนหรือเป็นของตน เมื่อนั้นชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าอยู่กับผู้นั้นหรืออยู่
ในจิตใจของผู้นั้น คือจิตที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นนั่นแหละเป็นพระพุทธเจ้า

สังเกตดูให้ดีเถิดจะเห็นว่า เมื่อจิตของเราไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรว่าเป็นตัวเราหรือเป็น
ของเราแล้ว ในขณะนั้นจิตมีความบริสุทธิ์ที่สุด ในขณะนั้นจิตมีความสว่างไสวที่สุด
ในขณะนั้นจิตมีความสงบเย็นหรือเป็นสุขที่สุด พอเกิดความยึดมั่นถือมั่นอะไรเข้ามา
จิตนั้นก็เร่าร้อนที่สุด สกปรกที่สุด มืดมัวที่สุด และเป็นทุกข์ที่สุด ดังนั้นจิตที่ไม่มี
ความยึดมั่นถือมั่นในขณะนั้นแหละ เป็นจิตที่ถึงพระพุทธเจ้า หรือมีพระพุทธเจ้าเป็น
สรณะ เป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง

แต่คนไม่เข้าใจอาการอันนี้ ก็ไปเดาสุ่มเอาว่าเราจะต้องยึดมั่นถือมั่นพระพุทธเจ้าเป็น
ของเรา เป็นที่พึ่งแก่เราไป ทั้งที่ไม่รู้ว่าจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ก็เลยตกอยู่ในฐานะที่
โง่เขลาอย่างน่าเวทนาสงสาร แม้จะเข้าวัดรับศีล ฟังเทศน์ ให้ทานมาสักกี่ปีกี่สิบปี ก็
ยังห่างไกลต่อพระพุทธเจ้าอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องร้องตะโกนเป็นนกแก้วนก
ขุนทองเรื่อยไปว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ เป็นต้น โดยไม่มีความหมายอะไรเลย

นี่แหละคือโทษของการที่ไม่เข้าใจคำว่าไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้น ขอให้เข้าใจเสีย
ใหม่ให้ถูกต้องตามตัวหนังสือเหล่านี้ ว่าเราถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั้น ก็คือถึงการ
ที่มีจิตไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นที่พึ่ง หรือว่าเราถึงพระธรรมเป็นสรณะนั้น ก็คือการถึงภาวะ
ที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นเป็นที่พึ่ง หรือแม้ว่าเราถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งเป็นสรณะนั้น ก็
คือเราถึงหมู่บุคคลที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น และเราจะต้องทำให้เหมือนเขาด้วย เป็น
ที่พึ่ง รวมหมดด้วยกันทั้ง ๓ สรณะนี้ก็อยู่ตรงที่มีจิตที่บริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากความ
ยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง เป็นเครื่องอำนวยความสุขให้แก่เรา เป็นเครื่องอำนวยความ
บริสุทธิ์ ความสะอาด ความสว่างไสวแจ่มแจ้งสงบเย็นให้แก่เรา นั่นคือความหมาย
ของคำว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่แท้จริง

พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : เทศน์ในวันออกพรรษา ความไม่ยึดมั่น
อ่าน / ฟัง
https://pagoda.or.th/buddhadasa/2019-05-24-10-12-32-3.html
วางใจอย่างไรเมื่อทำบุญทำทาน - พุทธทาสภิกขุ
รวมบทความพระพุทธศานา
21063
                                                    


สุขภาพผู้หญิง
สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ การรักษาโรค
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา





Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD