หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion

คุกที่น่ากลัวคือคุกที่มองไม่เห็น - พระไพศาล วิสาโล

คุกของใจนี่มองไม่เห็น มันสร้างความทุกข์ทรมานมาก มันได้แก่อะไร อารมณ์ ความโกรธ
ความเคียดแค้นพยาบาท ความเศร้า ความรู้สึกผิด เป็นคุกของใจที่แน่นหนามาก มันทำให้
คนเราไม่สามารถที่จะมองไปข้างหน้าได้ ไม่สามารถจะมีความสุขเหมือนคนอื่นได้


คุกที่น่ากลัวคือคุกที่มองไม่เห็น - พระไพศาล วิสาโล


ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่จิตไปหลงติดอยู่กับอดีต อดีตอาจจะมีเหตุการณ์ทำให้เคียดแค้น
ถูกทำร้าย ถูกโกง บางคนนี่ถูกโกงเงินไป 3 หมื่น สิบปีแล้วยังไม่หายแค้น ไม่หายโกรธ
เวลามาปรึกษาก็จะพูดแต่เรื่องนี้แหล่ะ ทั้งๆ ที่กินอิ่มนอนอุ่น ทั้งๆ ที่ไม่ได้เจ็บไม่ได้ป่วย
อะไร ทั้งๆ ที่เงินที่หามาได้หลังจากนั้นมากกว่า 3 หมื่นไม่รู้กี่เท่า แต่ใจเขาก็ยังจมอยู่กับ
ความโกรธ เขาหารู้ไม่ว่า ความโกรธมันทำให้เขาทุกข์ ทำให้ความสุขเขาหายไป ถ้าตีค่า
เป็นตัวเงิน มันก็คงเป็นแสนเป็นล้านแล้ว มากกว่าเงินที่เขาถูกโกงเสียอีก


Sticker line

แม้แต่ความคิดอุดมการณ์ก็ขังใจเราได้ คือทำให้ความคิดคับแคบ ใครที่คิดต่างจากเรา ก็เห็น
เขาเป็นศัตรู หรือเกลียดชังเขา ไม่เปิดรับสิ่งที่จะทำให้เรามีปัญญามากขึ้น อันนี้คือทุกข์ของ
ใจที่เกิดกับทุกคนก็ว่าได้ เกิดกับพวกเรากันทั้งนั้น น่ากลัวมาก

 

คุกที่น่ากลัวคือคุกที่มองไม่เห็น - พระไพศาล วิสาโล

เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการมีความสุข ต้องการให้ใจมีอิสระก็ต้องพยายามรู้เท่าทันเสียก่อนว่า
มันมีคุกชนิดนี้ คุกที่น่ากลัวคือคุกที่มองไม่เห็น คุกที่เราคิดว่ามันไม่มี คุกที่สร้างด้วยอิฐก่อด้วย
ปูนมันไม่ค่อยน่ากลัวเท่าไร เพราะว่ามันขังได้แต่ร่างกาย อีกอย่างหนึ่งเราก็รู้ว่ามันเป็นคุก
เราก็พยายามที่จะมาปรับตัวปรับใจไม่ให้ทุกข์ แม้จะถูกขังอยู่ก็ตาม

แต่ถ้ามันมีคุกแล้วเราไม่รู้ว่ามันคือคุก ไม่รู้ว่ามันมีอยู่ อันนี้น่ากลัวกว่า เพราะว่ามันทำให้เรา
ประมาท ทำให้เราตายใจ

คำสอน พระไพศาล วิสาโล
อ่าน/ฟัง https://pagoda.or.th/aj-visalo/2020-05-03-16-21-56.html
อ้างอิงจาก https://www.facebook.com/buddhadasaarchives/

รวมบทความพระพุทธศานา
170963
                                                    


สุขภาพผู้หญิง
สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ การรักษาโรค
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา





Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD