บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
ค้นหาบทความสุขภาพ remahealth.com
Custom Search
|
พุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสภิกขุทำให้พุทธศาสนามีชีวิตชีวาและมีคุณค่าต่อสังคมสมัยใหม่ควรระลึกถึงคำสอนของท่านที่เป็น
เสมือนสื่อแห่งพุทธธรรมที่ชี้ทางออกจากทุกข์โดยไม่จำต้องหนีโลก รำลึกถึงคุณูปการพุทธทาสภิกขุ111 ปี
ชาตกาลพุทธทาสภิกขุ วันที่ 27 พฤษภาคม 2560
ณ วันนี้
ณ วันนี้คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้คนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่าน เพื่อ
พุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า
พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ
พุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ)เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
มรณภาพเมื่อวันที่8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษาเป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัด
สุราษฎร์ธานีเริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพ
มหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
แต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นบิดเบือนไปมาก และไม่อาจทำให้
เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิม
ของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส นั่นหมายถึงขอเป็นทาสรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
ผลงานเด่นพุทธทาสภิกขุ
ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์
และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ
พ.ศ. 2508 หนังสือแก่นพุทธศาสน์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ หนังสือดีประจำปี พ.ศ. 2508 จากองค์การยูเนสโก
พ.ศ. 2527 ได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลทำประโยชน์ฝ่ายบรรพชิตเนื่องในโอกาสสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200
ปี ได้รับรางวัลเป็นสัญลักษณ์เสาอโศก และเงินสดจำนวน 10,000 บาท
พ.ศ. 2537 คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่งต่อการศึกษาชาติ เนื่องในโอกาส
ครบรอบ 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ
20 ตุลาคม พ.ศ. 2548 องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้าน
ส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์