หน้าต่างสุขภาพ



 

Custom Search

 

Idocs Guide to HTMLControl your Emotion


กินแล้วนอน เสี่ยงกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน อาจไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็สร้างความทรมานให้คนที่ป่วยได้ไม่น้อย และ
ยังส่งผลกระทบไปถึงกิจวัตรอื่นๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่เป็นกรดไหลย้อน มักเป็นคนในวัยทำงาน
ของ ดังนั้นเราควรมีความรู้เบื้องต้นของโรคกรดไหลย้อน เพื่อหาวิธีป้องกันและวิธีการรักษา
ที่ถูกต้อง

กินแล้วนอน เสี่ยงกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน หรือ เกิร์ด (GERD ย่อมากจาก Gastro-Esophageal Reflux
Disease ) เกิดจาก หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างที่ปกติจะคลายตัวขณะที่มีการกลืนอาหาร
เพื่อให้อาหารผ่านลงสู่กระเพาะอาหาร และหดตัวปิดทันทีเพื่อไม่ให้อาหารและกรดจาก
กระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหารหูรูดหลอดอาหารทำงานบกพร่อง
จึงทำให้เกิดการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหาร

Sticker line

อาการกรดไหลย้อน
1. รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆ
2. รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปากและคอ
3. จุกเสียด แน่นท้อง บริเวณลินปี่
4. มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ
5. อาจมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย

กินแล้วนอน เสี่ยงกรดไหลย้อน

ข้อควรปฏิบัติเลี่ยงกรดไหลย้อน
1.เดินเล่นหรือทำกิจกรรมอื่นเพื่อให้อาหารย่อย ประมาณ 3-4 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยนอน
2. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่าฯลฯ
3. หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยากหรือใช้เวลาในการย่อยนาน
4. หากมีความจำเป็นและจำกัดในเรื่องของเวลาแนะนำให้กินอาหารไม่หนักท้องมาก แต่
ให้ความอิ่ม เช่น สลัดผัก น้ำเต้าหู้ โยเกิร์ตฯลฯ

อาการเกิดโรคไหลย้อน ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันหรือการปฏิบัติ
ตัวทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของเรา ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สมดุลไม่ว่าจะ
เป็นการทำงาน การกินอาหารและการนอน รวมถึงการออกกำลังกายก็เป็นส่วนสำคัญที่
ทำให้ร่างกายแข็งแรง และทนกับสภาพการณ์ต่างๆได้

ข้อมูลอ้างอิงจาก สสส.
171015

การรักษาโรค
สุขภาพผู้หญิง
สุขภาพผู้ชาย สุขภาพเด็ก สุขภาพวัยรุ่น ผู้สูงอายุ การรักษาโรค
ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ผิว ดวงตา ผม ทำงาน การนอน พระพุทธศาสนา





Copyright2010©remahealth.com All rights reserved by RMWD