สุขภาพดี บทความสุขภาพ อาหารสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย
ค้นหาบทความสุขภาพ remahealth.com
Custom Search
อัลไซเมอร์ |
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ อัลไซเมอร์เป็นอาการเสื่อมทางสมองรักษา
ไม่หาย แต่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้ อัลไซเมอร์ เป็นความบก
พร่องด้านความจำ ร่วมกับการสูญเสียความสามารถทางสมองด้านอื่นๆอย่าง
เช่น ความคิดการคำนวณความเข้าใจในเรื่องของเหตุผล การตัดสินใจ การ
คิดวิเคราะห์ หรือความสามารถทางด้านภาษา
อาการของผู้ป่วยอัลไซเมอร์
อย่างเช่น ย้ำคิดย้ำทำถามซ้ำซาก เนื่องจากจำไม่ได้ว่าทำหรือถามไปแล้ว
ทำสิ่งง่ายๆ ที่เคยทำไม่ได้ เช่น ใช้กรรไกรตัดเล็บไม่ได้ เปิดกระป๋องไม่เป็น
ติดกระดุมเสื้อไม่ได้ มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิดก้าวร้าวอาการของโรคอัลไซ
เมอร์จะคล้ายกับอาการหลงลืมตามปกติในผู้สูงอายุ และโรคทางจิตเวช ให้
สังเกตว่า หากเป็นอาการหลงลืมตามปกติ
อัลไซเมอร์จะมีอาการความจำเสื่อม บุคลิกภาพถดถอย ความสามารถด้าน
อื่นๆ เสื่อมลงก่อน แล้วจึงค่อยมีอาการทางจิต แต่ถ้าเป็นโรคทางจิตเวช จะ
มีอาการของประสาทหลอน หูแว่ว มาก่อน
อาการอัลไซเมอร์ หากมีอาการมากจนเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิตประจำ
วันหรือมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทางระบบ
ประสาท เพื่อตรวจวินิจฉัย
อัลไซเมอร์ เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักเป็นกับคน
อายุ 55-60 ปีขึ้นไป และยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสเป็นโรคก็ยิ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ขึ้น
อยู่กับต้นทุนเดิมของแต่ละคน หากเป็นคนที่ต้องใช้ความคิดการตัดสินใจอยู่
เสมอ เมื่อสมองเสื่อมถอยไปบ้าง ก็ยังสามารถดำเนินชีวิตประจำวันอยู่ใน
สังคมได้ หรือคนที่เกษียณแล้ว ถ้าใช้ชีวิตอยู่ไปวันๆ สมองจะถดถอยลง
อย่างรวดเร็ว แต่ถ้ายังทำงานอุทิศตนให้สังคม ศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อ คิด
วิเคราะห์ให้ความเห็น แม้จะมีสมองบางส่วนที่เสียไปตลอดเวลาตามอายุ
ขัย แต่ส่วนที่ฝึกไว้ก็จะดีขึ้น
การรักษาอาการอัลไซเมอร์
การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ แม้จะให้ยาช่วยในด้านความจำ แต่ก็ไม่
ได้ทำให้กลับมาดีเหมือนเดิม เพียงแต่ช่วยให้พอดำรงชีวิตประจำวันได้ด้วย
ตนเอง ส่วนยาบำรุงสมองราคาแพงที่โฆษณาขายกันอยู่นั้น มักจะมีฤทธิ์
กระตุ้นประสาท ทำให้กระฉับกระเฉงอยู่ชั่วคราวแต่ก็เป็นการดึงพลังสำรอง
มาใช้ ทำให้อ่อนเปลี้ยเพลียแรง จนต้องใช้เวลาพักนานขึ้น จึงไม่แนะนำ
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
1.ให้ความเข้าใจและเห็นใจผู้ป่วย
2.หากผู้ป่วยย้ำถามซ้ำซาก และเห็นว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น เช่น
เวลานัดหมาย อาจเตือนความจำ โดยเขียนไว้บนกระดานให้
ผู้ป่วยอ่าน
3.ผู้ป่วยอาจจะทำกิจวัตรประจำวันได้ช้า เพราะจำวิธีทำไม่ได้
ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ และแนะนำให้ทีละขั้นตอน จากนั้นให้
ผู้ป่วยค่อยๆ ทำเองให้มากที่สุด แทนที่จะรีบทำให้ เพื่อให้เขายัง
มีโอกาสได้ฝึกทำจะได้ไม่ลืมไปหมด
4.พาเข้าสังคมบ้าง เพื่อฝึกให้ทักษะในการเข้าสังคมให้ยังคงอยู่บ้าง
5.หากในกรณีที่ผู้ป่วยชอบออกนอกบ้าน แล้วจำทางกลับบ้านไม่ได้
ให้ผู้ป่วยพกนามบัตร เบอร์โทร.ติดต่อ แต่ทางที่ดีควรมีผู้ดูแลไปด้วย
6.จัดบริเวณบ้านให้ปลอดภัย